'หมายเหตุประกอบงบการเงิน' เรื่องใหญ่ที่มักเข้าใจว่าเป็นเรื่องเล็ก
- Corpus X
- 28 ส.ค. 2567
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 7 ก.พ.

การบริหารงบการเงินอาจเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร โดยเฉพาะหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่มักเข้าใจว่าเป็นส่วนหมายเหตุเล็กๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดของงบการเงิน เพราะเปรียบเสมือนจุดบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในปีนั้นๆ
หมายเหตุประกอบงบการเงิน มีอะไรบ้าง
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ ส่วนหนึ่งของงบการเงินที่แสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการที่แสดงในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) เพื่อใช้อธิบายภาพรวมที่มาที่ไปของตัวเลขและรายละเอียดส่วนต่างๆ ในงบการเงินทั้งหมด มีองค์ประกอบทั่วไป ดังนี้
1. สรุปนโยบายทางการบัญชี
เป็นส่วนที่อธิบายนโยบายและแนวทางที่บริษัทใช้ในการจัดทำงบการเงิน เช่น วิธีการบันทึกรายได้ การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ และแนวทางการรับรู้หนี้สิน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องเข้าใจหลักการทางการเงินของบริษัท
2. วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
แสดงให้เห็นรายละเอียดวิธีคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มเติมมาจากในงบการเงินที่มีเพียงตัวเลขค่าเสื่อมราคา วิธีคิดจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์และอุตสาหกรรมที่ใช้งาน
3. รายละเอียดลูกหนี้
รายงานลูกหนี้การค้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินที่บริษัทต้องเรียกเก็บจากลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน หากบริษัทมีลูกหนี้ค้างชำระจำนวนมาก อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางการเงินที่ควรได้รับการพิจารณา
4. รายละเอียดเจ้าหนี้
การวิเคราะห์เจ้าหนี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของหนี้สินที่บริษัทมีต่อซัพพลายเออร์หรือเจ้าหนี้ทางการเงิน รวมถึงการออกหุ้นกู้ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความสามารถของบริษัทในการบริหารหนี้และความมั่นคงทางการเงิน
5. การลงทุนและถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ
หากบริษัทมีการลงทุนหรือถือหุ้นในบริษัทอื่น ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้นักลงทุนทราบถึงพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบรายละเอียดการลงทุนจะช่วยให้เข้าใจว่าบริษัทกระจายความเสี่ยงทางการเงินอย่างไร
6. รายละเอียดสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
หากบริษัทมีการลงทุนหรือถือหุ้นในบริษัทอื่น ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้นักลงทุนทราบถึงพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบรายละเอียดการลงทุนจะช่วยให้เข้าใจว่าบริษัทกระจายความเสี่ยงทางการเงินอย่างไร
7. รายละเอียดด้านอัตราแลกเปลี่ยน
หากบริษัทมีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ รายละเอียดอัตราแลกเปลี่ยนจะช่วยให้เห็นผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อผลประกอบการของบริษัท นักลงทุนสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของค่าเงินและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศ
ก่อนจะตัดสินใจร่วมธุรกิจกับคู่ค้า การตรวจสอบงบการเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจให้กับธุรกิจของคุณ Corpus X B2B Data Analytics Platform ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลบริษัทกว่า 2 ล้านแห่งทั่วไทย พร้อมประวัติย้อนหลังมากกว่า 20 ปี วิเคราะห์แนวโน้มการเติบโต ประเมินความเสี่ยง และเปรียบเทียบผลประกอบการกับอุตสาหกรรมได้ง่าย ๆ เพียงแค่ ทดลองใช้งาน Corpus X เพื่อให้ธุรกิจของคุณวางแผนได้อย่างรอบคอบ พร้อมปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดและคู่ค้า
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @corpusx หรือหากเป็นผู้ใช้งาน Corpus X อยู่แล้วอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ติดต่อแผนก Customer Service ที่ +662 657 3999 ext. 2111-9