Securing the New Frontier : Navigating Cybersecurity in the Digital Age
พรมแดนใหม่ทางความเสี่ยง : ป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิตัลอย่างไร
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสทางธุรกิจก็มีมากมายไม่สิ้นสุด ทว่าความท้าทายทางธุรกิจรูปแบบใหม่ก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน อีกหนึ่งความยากในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล คือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์
คงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่รู้จักใครสักคนรอบตัวเรา ที่จะไม่เคยประสบกับภัยทางไซเบอร์ในยุคนี้ ทั้งในรูปแบบการถูกโจรกรรมข้อมูล การเข้าถึงรหัสของบัญชีส่วนตัวต่างๆ หรือแม้กระทั่งการปลอมแปลงตัวตน แล้วถ้าหากการโจรกรรมทางไซเบอร์นั้นเกิดขึ้นกับบริษัท ธุรกิจ หรือภาครัฐ ความเสียหายจะมากแค่ไหน
กรณีตัวอย่างในไทย...
ในเมืองไทยเองก็มีตัวอย่างกรณีการโจรกรรมทางไซเบอร์มาหลายครั้ง โดยมีครั้งใหญ่ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า TrueMove H รั่วไหล โดยให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลรูปสำเนาบัตรประชาชน ใบขับขี่และพาสปอร์ตของลูกค้าได้, โรงพยาบาลสระบุรีถูก Ransomware โจมตี ส่งผลให้ทางโรงพยาบาลไม่สามารถดึงข้อมูลคนไข้เพื่อทำการรักษาได้ หรือแม้กระทั่งล่าสุดที่แฮกเกอร์ 9Near ประกาศขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านคนบนดาร์กเว็บ โดยมีทั้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเกิด, เลขที่บัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์อยู่ด้วย เป็นต้น ซึ่งกรณีตัวอย่างที่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
นอกจากข้อมูลที่รั่วไหลแล้ว ระบบการทำงานภายในของธุรกิจก็อาจถูกหยุดชะงักไปด้วย...
แล้วธุรกิจควรทำอย่างไร?
การป้องกันภัยทางไซเบอร์นั้นต้องเริ่มจากสองส่วน คือ 1. ตรวจสอบความเสี่ยงทางไซเบอร์ภายในองค์กรเพื่อหาทางปิดรูรั่ว และ 2. ตรวจสอบความเสี่ยงของคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งลดช่องทางที่โจรกรรมไซเบอร์จะสามารถเข้าถึงตัวเราได้ หลังจากเราสามารถระบุถึงความเสี่ยงในสองส่วนข้างต้นแล้วนั้นเราถึงจะสามารถลงมือแก้ไขได้อย่างตรงจุด
ตรวจสอบอย่างไร?
ในทางปฏิบัตินั้น หลายๆ บริษัทก็จะมีการจ้างที่ปรึกษาทางความปลอดภัยทางไซเบอร์มาเพื่อให้คำแนะนำและวางแผนปรับปรุงระบบ หรือแม้กระทั่งการจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการตรวจสอบนโยบายด้านความปลอดภัยของคู่ค้า ทว่าค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาเหล่านี้มักมีราคาสูงและใช้เวลานานในการตรวจสอบ เราจึงอยากเสนอทางเลือกให้กับผู้ประกอบการ ผ่านระบบการให้คะแนนความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากผู้ให้บริการระดับโลกที่แม้กระทั่งทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หรือ White House ก็ยังเลือกใช้
โดยในผลิตภัณฑ์ CorpusX ของเรา สามารถตรวจเช็กข้อมูลความเสี่ยงทางไซเบอร์ของทั้งตัวเองและคู่ค้าได้ โดยมีทั้งระดับสังเขป และฉบับละเอียด โดยสามารถดูระดับความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ แยกเป็น 5 ระดับ A, B, C, E, และ F เรียงลำดับจากความเสี่ยงต่ำไปสูง โดยหากทราบ URL แต่ในระบบยังไม่มีข้อมูลสามารถเรียกข้อมูลความเสี่ยงแบบสังเขปเพิ่มได้
โดยคะแนนความเสี่ยงที่ได้จะได้รับการแบ่งย่อยเป็นหมวดความเสี่ยงด้านต่างๆ ด้วยกัน 10 หมวด อาทิ Network Security, DNS Health, Patching Cadence และอื่นๆ เพื่อให้เห็นถึงช่องโหว่ทางความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่บริษัทมี
Corpus X ช่วยคุณได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @corpusx หรือหากเป็นผู้ใช้งาน Corpus X อยู่แล้วอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ติดต่อแผนก Customer Service ที่ +662 657 3999 ext. 2111-9
ผู้เขียน: ภูมิ ขอจิตต์เมตต์, Product Consultant